ตู้ปลา

ตู้ปลา เป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องเลือกและจัดให้สวยงามปลอดก่อนจะนำปลามาเลี้ยง หลายคนมักจะเลี้ยงปลาไว้ในโหลแก้ว มีสาหร่ายลอยหรือไม้น้ำอยู่เล็กน้อย วางไว้มองเพลินๆ หรือเลือกซื้อตู้ปลาขนาดเล็กมาวางบนโต๊ะ แล้วเลือกปลาสวยๆ ที่ชอบมาเลี้ยงแบบง่ายๆ แต่ถ้าหากใครที่คิดจะเลี้ยงปลาแบบจริงจังและอยากดูแลตู้ปาแบบง่ายๆ ให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพที่ดีของปลา ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการเลือกตู้ปลา การจัด การดูแล รวมถึงการทำความสะอาดตู้ปลา

ตู้ปลา

ความสำคัญของตู้ปลา 

สำหรับคนที่ชื่นชอบในการเลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำ ต้องการมีตู้ปลาเพื่อใช้สำหรับตกแต่งบ้านหรือบางคนจัดเป็นการเสริมฮวงจุ้ย การเลือกตู้ปลาให้เข้ากับบ้านนั้น ต้องเริ่มจากสำรวจความชอบส่วนตัวของเจ้าของบ้านว่าชอบตู้ปลาลักษณะไหน หรืออาจจะดูจากสไตล์ของบ้าน เพื่อให้ตู้ปลาที่จะนำเข้ามาดูเข้ากับตัวบ้านมากที่สุด ซึ่งตู้ปลาในปัจจุบันนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะแบบสำเร็จรูปหรือสั่งทำพิเศษ และการเลือกตู้ปลาต้องให้เหมาะสมกับประเภทของปลาที่ต้องการเลี้ยงด้วย เนื่องจากปลาแต่ละประเภทจะมีความเลี้ยงยากง่ายและลักษณะในการเลี้ยงที่ต่างกัน

การเลือกตู้ปลาต้องคำนึงว่าต้องการเลี้ยงปลาจำนวนประมาณเท่าไร มีพื้นที่สำหรับจัดวางตู้ปลาให้เหมาะสมกับตู้ปลาหรือไม่ เพราะหากมีพื้นที่ค่อนข้างน้อยแต่มีตู้ปลาขนาดใหญ่ จะทำให้พื้นที่การใช้งานของตัวบ้านน้อยลง หรือยากที่จะหาพื้นที่สำหรับจัดวาง

วิธีการเลือกตู้ปลา 

  • รูปแบบของตู้ปลา
  1. ตู้พลาสติก เหมาะกับการเลี้ยงปลากัด หรือปลาที่มีขนาดเล็ก สามารถนำไปวางบนโต๊ะ หรือมุมต่างๆ ได้
  2. ตู้กระจกใส สามารถเลี้ยงได้ทั้งปลาและกุ้ง หรือสัตว์น้ำอื่นๆ เพราะมีวัสดุค่อนข้างแข็งแรง
  3. ตู้กระจกขอบไม้สั่งทำ จะมีการสั่งทำพิเศษเหมาะกับคนที่ต้องการให้เข้ากับสไตล์บ้าน เช่น บ้านไม้
  • การจัดวางตู้ปลา

เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องนึกถึงเพราะถ้าวางในที่ตั้งที่ไม่ดีแล้วสิ่งมีชีวิตภายในตู้ปลาของเราอาจเกิดปัญหาได้

– ตั้งที่มุมสงบไม่พุกพล่าน ปลาจะเกิดอาการเครียด ตกใจง่าย ไม่กล้าออกมาว่ายน้ำ อาจเป็นสาเหตุโน้มนำให้ปลาที่เลี้ยงป่วยได้
– ไม่เกะกะกีดขวางการทำงานอื่น ถ้าตู้ปลาได้รับการกระทบกระเทือนขณะมีน้ำอยู่อาจจะทำให้แตกและได้รับ อันตรายได้ เพราะกระจกตู้มีภาระที่ต้องรองรับแรงดันของน้ำอยู่แล้ว
– แสงอาทิตย์ จะทำให้มีผลต่อการเกิดตะไคร่ จะทำให้ตู้ปลาที่เราเลี้ยงดูสกปรกแต่ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากใน รอบวันก็จะทำให้ปลาที่เราเลี้ยงไม่แข็งแรง อ่อนแอติดเชื้อโรคได้ง่าย

  • ความสะดวกในการดูแลรักษา

ความสะดวกในการดูแลรักษาเป็นผลมาจากการเลือกวางตู้ปลา หากวางตู้ปลาในที่เหมาะสมแล้การดปลี่ยนถ่ายน้ำควรใกล้แหล่งทิ้งน้ำเข้า หากเป็นไปไม่ได้ควรใช้อุปกรณ์ต่างๆ มาช่วย เช่น สายยาง กระป๋องตักน้ำ ควรให้แหล่งทิ้งน้ำอยู่ต่ำกว่าตู้ปลาจะได้ง่ายต่อการถ่ายน้ำ

  • น้ำ

ส่วนมากการเลี้ยงปลามักจะใช้น้ำประปามาใส่ตู้ เพราะความสะดวกสบายของผู้เลี้ยงและไม่สามารถหาน้ำจากแหล่งอื่นได้ การจะนำน้ำประปาควรนำน้ำประปาที่รองทิ้งไว้ 1-2 วัน แล้วจึงนำมาใช้เพราะน้ำประปามีน้ำคลอรีนละลายอยู่แต่ความเป็นจริงแล้วน้อยคนที่จะทำเช่นนั้น ส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาโดยตรงเลย ควรที่จะทิ้งไว้เสียก่อน และใช้สารเคมีกำจัดคลอรีน เช่น โซเดียมไทโอซัลเฟต ก่อนนำมาใช้

  • การให้อากาศและการหมุนเวียนน้ำ             

ในตู้ปลาที่มีสิ่งมีชีวิตอย่างหนาแน่นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้อากาศลงไปในตุ้ปลา เพื่อปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นได้หายใจด้วยการให้อากาศมี 2 วิธีด้วยกัน

– ใช้เครื่องให้อากาศใต้น้ำ (Air Pump) โดยผ่านท่อลมและมีตัวปล่อยอากาศใต้น้ำ เช่น หัวทราย
– ใช้เครื่องพ่นน้ำขนาดเล็ก โดยให้หลักการให้น้ำหมุนเวียนขึ้นมาสัมผัสอากาศ หรือในเครื่องพ่นน้ำบางรุ่นจะมีท่อสำหรับใส่สายลมเพื่อดูดอากาศเข้าไปผสมกับน้ำ แล้วพ่นออกมาเป็นการให้อากาศในตู้ปลาอีกวิธีหนึ่ง

  • แสงสว่าง

โดยทั่วไปการให้แสงสว่างกับตู้ปลามักจะใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นส่วนใหญ่ เพราะหาซื้อง่ายราคาถูก โดยที่จริงแล้วแสงจากหลอดไฟไม่มีผลโดยตรงต่อการอยู่รอดของปลา แต่เป็นเพียงเพิ่มความสว่างให้ตู้ปลา หลอดบางชนิดทำให้เห็นสีของปลาสวยกว่าสีจริงด้วย และยังทำให้ปลาไม่ตื่นตกใจง่ายถ้าเราให้แสงสว่างเป็นประจำ

  • อุปกรณ์กำจัดของเสีย

การกำจัดของเสียในตู้ปลาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงปลา เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเปลี่ยนน้ำให้ปลาทุกวัน แต่ปลาต้องกินต้องถ่ายทุกวันทำให้ของเสียมีปริมาณมากขึ้น ถ้าเราไม่กำจัดมันออก การกำจัดของเสียส่วนมากเราจะใช้ระบบกรองน้ำโดยทั่วไปมักจะเห็นกันอยู่มี 2 แบบ

          1. กรองใต้ทราย (Sub sand filter) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการให้น้ำผ่านใต้ทรายแล้ว น้ำจะพ่นออกทางท่อเหนือพื้น  ทรายสิ่งสกปรกก็จะติดอยู่ที่พื้นทราย จุลินทรีย์ในทรายก็จะย่อยสลายของเสีย
2. การกรองแบบเปียก–แห้ง (Wet & dry filter) เป็นการกรองโดยใช้หลักการโปรยน้ำลงมาโดยมีวัสดุพื้นที่ผิวมากเป็นตัวรองรับ โดยผ่านตัวกรองหลาย ๆ ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การโปรยน้ำก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับตู้ปลาและการที่น้ำผ่านวัสดุพ้นที่ผิวมากก็จะทำให้น้ำสัมผัสกับพื้นที่ยึดเกาะของจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่บำบัดคุณภาพน้ำ ทั้งจุลลินทรีย์ที่ใช้อ๊อกซิเจนและจุลินทรีย์ไม่ใช้อ๊อกซิเจนในการย่อยสลายของเสีย วัสดุเหล่านี้มักพบเห็นทั่วไปเช่น ไบโอบอล กรวดปะการัง ฯลฯ

หลักการจัดตู้ปลา

  1. เลือกตู้ปลาตามความชอบ และขนาดให้เหมาะสมกับประเภทและจำนวนของปลา ทำความสะอาดให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมสำหรับการจัดตู้ปลา
  2. บริเวณที่จะจัดวางตู้ปลา ควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับหรือมืดจนเกินไป และควรเป็นมุมที่ได้รับแสงแดดบ้างบางเวลา
  3. ฐานหรือโต๊ะที่จะวางตู้ปลา ต้องมีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้ เพราะตู้ปลาจะมีความหนักเบาตามรูปแบบที่เลือก และเมื่อใส่น้ำลงไปจะทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  4. ควรทำการติดตั้งเครื่องปั๊มอากาศและระบบการกรองน้ำ สำหรับตู้ปลาส่วนมากจะมีระบบสำเร็จรูปอยู่แล้ว เพียงแค่นำมาติดตั้งเองที่บ้าน โดยเครื่องปั๊มอากาศควรมีการติดตั้งให้สูงกว่าพื้นที่ที่ปลาอาศัย เพื่อความสะดวกในการดันอากาศ
  5. การเลือกซื้อระบบนิเวศที่ต้องการนำมาจัดภายในตู้ เช่น พันธุ์ไม้ ก้อนหิน  ปะการังเทียมต่างๆ โดยพันธุ์ไม่ที่เลือกซื้อต้องดูว่าชอบแสงสว่างหรือไม่
  6. สิ่งประดิษฐ์อื่นๆ ที่สามารถนำมาจัดตู้ปลาได้ เช่น เปลืองหอย กิ่งไม้ ตอไม้ แผ่นภาพวิว หรือจะเป็นตัวการ์ตูนต่าง ๆ ตามความชอบ แต่ควรเลือกที่มีคุณภาพ สีไม่ตก เพราะจะทำให้เกิดสารปนเปื้อนในน้ำได้
  7. การจัดตู้ปลาต้องพยายามจัดให้มีความกลมกลืนกับระบบนิเวศของปลามากที่สุด ซึ่งระบบนิเวศเหล่านี้จะทำให้ตู้ปลามีความสวยงาม เป็นธรรมชาติ และให้ปลารู้สึกว่าได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมของตนเอง
  8. การจัดตู้ปลาควรมีการรองพื้นด้วยกรวด หรือหินเล็กๆ ที่ล้างสะอาด จะช่วยให้ดูเป็นธรรมชาติและง่ายต่อการจัดตกแต่งพันธุ์ไม่หรือสิ่งอื่นๆ  มากกว่าเป็นพื้นของตู้ปลา
  9. น้ำสำหรับใส่ตู้ปลา ต้องใช้น้ำที่มีการกรองหรือน้ำที่ไม่มีคลอรีน ต้องมีการเช็คน้ำให้มีความเป็นด่าง ถ้าเป็นน้ำประปาต้องมีการกักน้ำไว้ในสารคลอรีนระเหยออกก่อน
  10. หลังจากจัดตู้ปลาและใส่น้ำในระดับที่ต้องการและเหมาะสม คือไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ติดตั้งระบบอากาศและกรองน้ำเรียบร้อยแล้ว สามารถปล่อยปลาลงไปในตู้ปลาได้เลย

ตู้ปลา

วิธีการดูแลและทำความสะอาดตู้ปลา

  • การดูแลรักษาตู้ปลาที่สำคัญคือ การดูแลเรื่องความสะอาดของบริเวณตู้ ความสะอาดของน้ำ ระบบนิเวศ และต้องมั่นเอาใจใส่ตรวจเช็คตู้ปลาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการรั่วซึมบริเวณรอยต่อกระจก เพราะหากพบต้องรีบทำการซ่อมแซมทันที
  • การดูแลรักษาระบบกรองน้ำ เมื่อใช้งานไปสักพักต้องมีการดูดเอาสิ่งสกปรกในตู้ปลาออก เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตัน

การทำความสะอาดระบบกรองน้ำใต้ทรายหรือกรวด ด้านพันธุ์ไม้ต้องมีการเช็คการเจริญเติบโต การเน่าเสีย เช่น รากหรือใบ และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การเปลี่ยนน้ำ ที่ต้องมีการคำนึงถึงความด่างของน้ำใหม่ที่จะเติมลงไป การทำความสะอาดตู้ปลาไม่ยากอย่างที่คิด มีเพียง 4 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

  1. เริ่มจากการนำปลาจากตู้ไปใส่ไว้ในภาชนะทิ้งไว้ระหว่างรอตู้ปลาทำความสะอาดเสร็จ และเปิดออกซิเจนเพื่อถ่ายเทอากาศให้ปลาที่อยู่ในภาชนะด้วย
  2. ปล่อยน้ำออกจากตู้ และนำพันธุ์ไม้หรือสิ่งประดิษฐ์ตกแต่งออกจากตู้ แล้วนำมาทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นกรวด หิน ตอไม้ สามารถนำมาล้างหรือขัดให้สะอาด
  3. ทำความสะอาดตู้ปลาโดยใช้ฟองน้ำนิ่ม ๆ เช็ดด้วยสบู่ เพื่อให้คราบสิ่งสกปรกต่าง ๆ หลุดออกไป
  4. ล้างตู้ปลาให้สะอาดอีกครั้ง แล้วจึงนำกรวด พันธุ์ไม้และของตกแต่งกลับมาใส่ตู้อีกครั้ง เติมน้ำที่เป็นด่างลงไปและนำปลากลับใส่ลงไปในตู้ปลาแค่นี้ก็ถือว่าเรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนการตั้งตู้ปลา

  • Step 1 ล้างตู้หรือภาชนะ กรวด ทราย หรือหินขนาดเล็กที่ใช้รองพื้นตู้ด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด
  • Step 2 ใส่หิน ต้นไม้น้ำและวางอุปกรณ์ตกแต่ง
  • Step 3 เติมน้ำลงในตู้แล้วติดตั้งระบบกรองน้ำ ใส่วัสดุกรองและน้ำจนเต็มเครื่องกรอง แล้วเปิดสวิตช์ให้ระบบกรองและปั๊มลมทำงาน ทิ้งไว้ 1 – 2 วัน
  • Step 4 นำถุงปลาที่ซื้อไว้มาลอยไว้ในตู้อย่างน้อย 15 นาทีเพื่อปรับอุณหภูมิของน้ำภายในถุงให้ใกล้เคียงกับในตู้
  • Step 5 ค่อยๆ ตักน้ำในตู้ผสมลงไปในถุงปลา อัตราส่วน 1 : 1 ทิ้งไว้อีก 5 – 10 นาทีก่อนปล่อยปลาลงในตู้ เพื่อป้องกันปลาช็อกน้ำ
  • Step 6 ค่อยๆ ปล่อยปลาลงในตู้ พร้อมติดตั้งระบบส่องสว่างให้เรียบร้อย

TIPS

  • ตำแหน่งตั้งตู้ปลาควรอยู่ใกล้กับปลั้กไฟ เพื่อติดตั้งระบบกรอง ปั้มลง และมีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ได้รับแสงแดดโดยตรง อุณหภูมิไม่ร้อนจัด หรือเปลี่ยนแปลงเกิน 1 –2 องศาในแต่ละวัน
  • ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดล้างตู้ หินและกรวด เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในตู้ได้
  • ควรรองน้ำใส่ภาชนะตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 1 คืน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกก่อนนำมาใช้ หากใช้น้ำที่ยังไม่พัก ควรใช้สารปรับสภาพน้ำให้มีคุณภาพ แต่ควรศึกษาวิธีการใช้อย่างละเอียด
  • หากใช้กรองใต้ทรายหรือกรองพื้น ต้องวางแผ่นกรองปูพื้นก่อนใส่กรวดและหิน
  • ถ้าใช้กรวดปูพื้นขนาดใหญ่ น้ำจะใสช้าขุ่นเร็ว แต่ถ้ากรวดขนาดเล็ก น้ำจะใสเร็ว แต่ทำความสะอาดยาก

หลังจากเลี้ยงไปสักพักควรหมั่นสังเกตปลาที่เลี้ยงว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่ ในบางช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เช่น บางวันร้อนจัด บางวันอากาศเย็น อาจทำให้ปลาป่วยได้ ซืมไม่กินอาหาร บางตัวมีแผลเน่าเปื่อยตามครีบ หาง และช่องท้อง ในภาพ คือโรคเกล็ดพอง ที่มักพบเป็นประจำกับปลาสวยงาม

บทสรุป

การเลือกตู้ปลาให้เข้ากับบ้านของคุณควรเลือกจากความชอบ เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการ หรือจากสไตล์ของบ้านที่จะช่วยให้ตู้ปลามีความสวยงามและเข้ากับบ้านมากขึ้น สามารถทำตามหลักการจัดตู้ปลาแบบง่ายๆ ให้บ้านดูสดใสเสริมบรรยากาศภายในบ้านให้สดชื่น นอกจากการจัดตู้ปลาให้สวยงามแล้วการดูแลรักษาและการทำความสะอาดก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น การดูแลระบบนิเวศและความสะอาดของน้ำภายในตู้ปลา ที่ต้องมั่นตรวจเช็คและทำความสะอาดอยู่เสมอ

 

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่ resetaviation.com
สนับสนุนโดย  ufabet369